วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การลงทุนแบบไม่เครียดจนเกินไป


การลงทุนแบบไม่เครียดจนเกินไป

     คือการหวังที่กำไรของ บ. โดยต้องปรับความคิดว่ากำไรจาก cap gain นั้นจะได้มาจากสองส่วน คือ
 1 มูลค่า บ.เพิ่มมากขึ้น จาก บ.เติบโตขึ้น ทำให้ บ.มีมูลค่ามากขึ้น
 2 มูลค่าเพิ่มขึ้นจากความคาดหวังของมวลชน

ในที่นีเราจะมองไปที่ ข้อที่ 1 จะเป็นการลงทุนที่เครียดน้อยกว่า แบบที่ 2
(ทั้งนี้ขึ้นกับอุปนิสัยของแต่ละบุคคลด้วย บางคนลงทุนแบบที่ 2 เครียดน้อยกว่าก็มี)

 สมมติ หากเราซื้อคอนโดให้เช่าได้ผลตอบแทน 6%ใน 1ปีข้างหน้า  แล้วเราเปลี่ยนเป็นเอาเงินก้อนนั้นไปซื้อหุ้น ตรงนี้เท่ากับต้นทุนการเงินลงทุนของเราอยู่ที่ 6%
ตรงนี้ถือเป็นผลตอบแทนขั้นต่ำที่เรายอมรับได้

เราก็ควรมองไปที่ กำไรสุทธิ/Mkt cap ไม่ต่ำว่า6% หรือที่พีอี 16.67 คือจุดแพงสุดที่เราซื้อได้ (ข้อแม้คือ บนความเสี่ยง และอัตราการเติบโตเดียวกัน)

หากความเสี่ยงเพิ่มเราอาจประเมินเป็น % เพื่อไปบวกเพิ่ม หรือคือยอมรับที่พีอีต่ำลง เช่น มีความเสี่ยงเพิ่ม 2% เมื่อบวกค่าความเสี่ยงเข้าไปจะเป็น 6%+2%=8%  หรือคิดเป็นพีอีที่เรายอมรับได้ที่ 12.5 เท่า หากพีอีสูงกว่านี้ การกลับไปลงทุนในอสังหาให้เช่าจะคุ้มค่ากว่า

หรือหากมีโกรทเพิ่มมาด้วยในระหว่างปี อาจประเมินเป็น % ไปลบ เช่น หากมีโกรท 20% ใน 1ปีข้างหน้า จะได้ว่า  6%* (1-20%) = 4.8%  หรือที่พีอี 20.83เท่า

(ทั้งหมดเป็นตัวอย่างที่คิดในอนาคตที่ 1ปี และ บนการยอมรับได้ซึ่งผลตอบแทนขั้นต่ำที่ 6% ทดแทนรายได้ค่าเช่า และคำนวนความเสี่ยง โกรท เข้าไปด้วย จริงๆมีปลีกย่อยมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล)


ดังนั้น จะเห็นได้ว่าวิธีการนี้จะเน้นไปที่ราคาในการซื้อ เน้นไปที่ซื้อให้ถูกเท่าที่ราคาเริ่มให้ผลตอบแทนขั้นต่ำตามที่เราต้องการ

จุดอ่อนวิธีนี้คือ เมื่อราคาเริ่มลงจนถึงจุดที่เราเริ่มซื้อได้ แปลว่ามันมักจะอยู่ใน เทรนด์ขาลง 
ซึ่งคนที่ใช้กราฟในการซื้อขายจะรู้ข้อนี้ดีคือ ราคามันมักจะลงไปเรื่อยๆจนกว่าจะเปลี่ยนเทรนด์   ดังนั้นการซื้อควรเป็นแบบทยอยซื้อ ต้องเตรียมกระสุนให้มากพอ และเป็นการซื้อที่เหมาะสำหรับตลาดหมี แต่ คนที่จะใช้วิธีนี้ต้องทำใจเห็นมูลค่าพอร์ตลดลงต่อเนื่องได้เป็นเวลานาน  คือต้องอดทนได้ไม่น้อยกว่า 3-6ปี ที่จะเห็นพอร์ต เน่า  เพราะวงจร ศก มีเป็นรอบและขาขึ้นก็มักกินเวลา 3-6ปี ขาลงก็เช่นกัน
    ปันผลจะเป็นตัวช่วยให้ความอดทนมีมากขึ้นและอดทนได้เป็นเวลานานจนกว่าขาขึ้นจะกลับมา    แต่ บ.ที่เราเลือกจะซื้อด้วยวิธีนี้ เราจะต้องมองออกว่า ตลอดเวลาที่เรา รอคอย จะต้องมีมูลค่าเพิ่มภายในตัวมันเอง คือต้องเป็น บ.ที่มีการเติบโต (พวก บ.ที่อิงคอมโมมากๆอาจไม่เหมาะนัก)

    พอแบบนี้หลายคนมักตั้งคำถามว่า ทำไมไม่รอให้ลงต่ำสุดแล้วค่อยซื้อ  ใครรู้ Bottom ล่วงหน้าบ้างครับ ใครรู้  Peak ล่วงหน้าบ้างครับ  คนเก่งๆที่ผมเคยเจอ ทุกคนล้วนพูดเหมือนกันหมดว่าไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้  แต่คนที่พูดว่ารู้ล่วงหน้าได้ เห็นมีแต่เอาอดีตมาเป็นตัวอย่างในการพูดทั้งนั้น

     วิธีการนี้ไม่เหมาะสำหรับคนที่ไม่สามารถทนมองพอร์ตเน่าได้ ไม่เหมาะสำหรับคนที่มองธุรกิจไม่ออก มอง บ. ไม่ออกว่ามีโกรทไหม

หลายคนบอกว่างั้นทำไมไม่เล่นเฉพาะตลาดกระทิง  ก็ได้เช่นกัน แต่วิธีการนั้นต้องยอมรับว่า โอกาสซื้อของต่ำกว่ามูลค่าแท้จริงแทบไม่มี หรือเป็นไปได้แต่น้อยมาก และเป็นวิธีการที่มุ่งเน้นการโฟกัสไปที่ ราคาหุ้น+แรงซื้อ+มูลค่าเพิ่มจากการคาดหวังของมวลชน ซื่งคือวิธีการที่ 2

ไม่ได้บอกว่าวิธีการไหนดีกว่ากัน  แต่จุดสำคัญคือ วิธีไหนเหมาะกับสภาพตลาดในขณะนั้นต่างหากที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนหรือไม่
   ตลาดแต่ละสภาพ เหมาะกับ กลยุทธ์ในการลงทุนแต่ลแบบ
ตลาดมี 3 ลักษณะ
1  Up Trend
2  Down Trend
3  Side way
     ดังนั้น อย่างแรกที่ต้องทำคือ มองภาพใหญ่ของตลาดให้ออกว่า อยู่ในสภาพไหน หลังจากนั้นจึงเลือกใช้โมเดลการลงทุนที่เหมาะกับสภาพตลาดขณะนั้น ทำให้โมเดลการลงทุน ควรมี 3แบบ สำหรับผู้ที่ต้องการอยู่ในตลาดตลอดเวลา

จบที่ตรงนี้ละกันครับ รู้สึกจะเกินเลยหัวข้อไปแระ
โชคดีกับการลงทุนทุกท่านนะครับ  ^^

แนะนำ Blog น่าติดตามครับ  http://helloneung.blogspot.com/